52 Week Of Design

52 Week Of Design
104 Result
  • 2019 WEEK 52 "ธนวัฒน์ สุขัคคานนท์"

    บ้านที่ดีคือบ้านที่อยู่แล้วเป็นสุข ซึ่งก็คือ การออกแบบสภาพแวดล้อมให้มีความใกล้ชิดกับ “ธรรมชาติของตัวเรา” มากที่สุด...คำว่า ธรรมชาติในที่นี้ ไม่ใช่ธรรมชาติสีเขียวข้างนอก แต่หมายถึง สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เป็นตัวเอง
    15
  • 2019 WEEK 51 "ชวนะ ช่างสุพรรณ"

    “แต่งบ้านไม่ต้องตามเทรนด์” แต่ให้ถามใจตัวเองดูว่าชอบอะไรยังไง และควรดูสัดส่วนหรือยังว่าถ้ามาอยู่ใน Space ของเราแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องทำการบ้านก่อนมาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ คือไม่ใช่แค่มาเดินดูแล้วเห็นว่า โซฟาตัวนี้สวยดี เหมาะกับบ้านเราแน่ๆ แล้ว ปรากฏว่าเลือกไปแล้วโซฟาตัวนี้ถูกตั้งโชว์ไว้เฉยๆ โดยไม่เคยนั่งเลย เพราะตอนซื้อไม่ได้ลอง พอต้องนั่งใช้งานจริงๆ แล้ว ถึงรู้สึกว่านั่งไม่สบายหรือไม่เหมาะกับสรีระของเรา
    12
  • 2019 WEEK 50 "คุณยุทธนา จันทร์ผ่อง"

    สำหรับธุรกิจโรงแรม หัวใจหลักของธุรกิจโรงแรม คือการบริการ สิ่งสำคัญในการวางผัง คือ ทำอย่างไงให้พนักงานเข้าถึงตัวลูกค้า (เพื่อให้บริการหรือให้การช่วยเหลือ) ได้เร็วที่สุด เช่น เคาน์เตอร์ต้อนรับ แทนที่จะทำเป็นเคาท์เตอร์ยาวๆ ซึ่งจะเกิดปัญหาว่า กว่าพนักงานจะเดินออกไปได้ก็ค่อนข้างใช้เวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบต่อเรื่อง Service ดังนั้น ก็ควรปรับเคาน์เตอร์ให้สั้นลง เพื่อให้พนักงานสามารถเดินออกไปถึงตัวลูกค้าได้สะดวกและทันใจลูกค้า
    18
  • 2019 WEEK 49 "พีรภัทร สินธพนำชัย"

    Leaning Space สำหรับเด็ก แต่ละที่จะมีหลักสูตรหรือจุดเน้นที่แตกต่างกัน ซึ่งคนที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนแบบนี้ เวลาที่เด็กกลับไปบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ขณะอยู่ที่บ้านด้วย เพื่อให้เด็กเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่ว่ากลับบ้านแล้วเด็กไม่ต้องทำอะไรเลย
    5
  • 2019 WEEK 48 "นพชัย อรรฆยะพิศุทธิ์"

    การปรับพื้นที่บ้านจัดสรร สิ่งที่พอจะทำได้คือ 1.ปรับฟังก์ชั่น โดยไม่ต้องต่อเติมก็ได้ แต่ให้ลองดูว่ามีพื้นที่อะไรเหลือและพอจะปรับเปลี่ยนไปทำอะไรได้บ้าง 2.ดึงแสงธรรมชาติเข้ามาให้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนมากบ้านจัดสรรจะให้หน้าต่างบานเล็ก เราก็อาจจะทำการทุบผนังออก แล้วใส่หน้าต่างใหญ่เข้าไป เพื่อเปิดมุมมองไปยังธรรมชาติด้านนอกและได้แสงเข้ามามากขึ้น
    9
  • 2019 WEEK 47 "นนท์ โกมลสุทธิ์"

    Space ที่ควรมีในบ้าน ก็คือพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้มากที่สุด บางคนชอบแต่งตัวมาก และใช้เวลาแต่งตัวครั้งละหลายชั่วโมง บางทีการมีแพนทรีอยู่ในห้องแต่งตัว อาจเป็นฟังก์ชั่นหรือพื้นที่ที่คุณต้องการ เผื่อคุณหิวจะได้มีอะไรทานเวลาพักเบรกระหว่างการลองชุด ลองกระเป๋า เป็นต้น ดังนั้น น่าจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจตัวเองก่อน เพื่อดูว่าแท้จริงๆ แล้ว ในบ้านของคุณควรมีฟังก์ชั่นแบบไหนเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแท้จริง
    8
  • 2019 WEEK 46 "วัชรวิชญ์ ชื่นธีระวงศ์"

    Hidden Cost ในงานรีโนเวท จะซ่อนอยู่เยอะในงานระบบ เวลาที่เราเห็นภาพสวยๆ เราไม่มีทางรู้หรอกว่าเบื้องหลังเขาทำอะไรมาบ้าง สิ่งที่ซ่อนอยู่ คือ งานระบบซึ่งเปรียบเหมือนเส้นเลือด เช่น พวกสายไฟ ท่อน้ำ แม้ว่ามันจะไม่ออกมาเป็นความสวยงาม แต่คุณต้องเตรียมงบสำหรับตรงนี้ไว้ประมาณ 30-40% และยิ่งถ้าอาคารนั้นเป็นอาคารเก่ามาก หาที่มาที่ไปของแบบเดิมไม่เจอ ก็มีความเสี่ยงเรื่องโครงสร้างที่จะไม่ Support งานระบบก็จะเยอะขึ้นเป็นหลายเท่า
    9
  • 2019 WEEK 45 "ฐิตาภา ชูศิลป์กุล"

    เมื่อคิดจะรีโนเวทบ้าน ให้ถามตัวเราก่อนว่าอยากทำไปในรูปแบบไหน ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพราะมันคือสิ่งที่เราอยากให้เป็น มันคือที่ของเรา ก็ให้ทำในแบบที่เราสบายใจ แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ต้องทุบต้องเจาะ ต้องดูเรื่องโครงสร้างอาคารให้ดี ความปลอดภัยต้องมาที่หนึ่ง เพราะบางทีมันมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ เราก็จะรู้ว่าฟังก์ชั่นที่เราต้องการนั้นจะไปได้สุดแค่นี้
    12
  • 2019 WEEK 44 "อรรถสิทธิ์ กองมงคล"

    ความสุขใน “บ้าน” บางครั้งอาจไม่ใช่อะไรหวือหวา แค่เราเห็นบ้านที่ถูกจัดสรรอย่างเป็นระเบียบ สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น เรากลับ รู้สึกว่าภาวะแบบนี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน...ก็เลยอยากแนะนำว่า จริงๆ แล้วทุกคนสามารถที่จะสร้างพื้นที่แบบนี้ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการจัดระเบียบหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ จัดลำดับความสำคัญในการใช้งานและให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ “ความเป็นระเบียบ หรือ การถูกจัดวางอย่างดี” เป็นสิ่งที่สร้างเสน่ห์ให้พื้นที่
    7
  • 2019 WEEK 43 "เชิงชาย เรียวเรืองแสงกุล"

    “บันได” ที่ใช้ภายในบ้าน ปกติจะมีขนาดตามมาตรฐานที่ต้องเดินสบาย แต่แทนที่เราจะออกแบบให้มีระยะที่พอดีเท้าเพื่อให้การก้าวเท้าเดินได้ต่อเนื่องรวดเร็วที่สุด ในทางกลับกัน ความเร็วของการเดินอาจจะทำให้เราพลาด “ประสบการณ์ระหว่างบันได” ไปด้วยก็ได้ ดังนั้น การออกแบบบันไดที่ให้ยาวขึ้นในระยะที่เหมาะสม คือเดินไม่สะดุด แต่ให้มีจังหวะที่ยั้งตัวเอง “ให้มีเวลากับบันไดและการมองเห็นทิวทัศน์ของบ้านไปด้วย” น่าจะเป็นความรื่นรมย์ของคนอยู่บ้านได้อีกอย่างหนึ่ง
    10
  • 2019 WEEK 42 "เศรษฐการ ยางเดิม"

    หากตัวบ้านอยู่ในทิศที่ไม่เหมาะสม เช่น ทิศใต้ที่แดดแรง เราอาจแก้ปัญหาพื้นที่ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นบางอย่างภายในบ้าน เช่น บันได ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราใช้เวลากับมันน้อยที่สุด เพราะปกติเราจะใช้เป็นทางสัญจรผ่านไปมา ก็แนะนำให้จัดพื้นที่ส่วนนี้ไปบล็อกแดด...ง่ายๆ ก็คือ พื้นที่ที่เราไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ แบบที่ไม่ได้แช่อยู่กับมันเกิน 15 นาที ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ไปกันความร้อนได้
    7
  • 2019 WEEK 41 "รินระดา นิโรจน์"

    “การเลือกเฟอร์นิเจอร์” เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่อยู่กับเราไปอีกนาน ไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่เป็นหลักสิบปี ไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้บ่อยๆ เรามักจะบอกลูกค้าว่า “คุณควรลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์” ที่คุณรู้สึกว่าไปลองนั่งลองสัมผัสแล้วชอบ และควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีมาตรฐาน ของที่ดีมีคุณภาพ ราคาก็อาจจะมากกว่าของทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่มันจะให้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าและคุ้มค่ากว่า
    4
  • 2019 WEEK 40 "กศินร์ ศรศรี"

    “ทิศตะวันตกและทิศใต้จะร้อน” แทนที่จะเอาห้องที่เปิดหน้าต่างไปไว้ทางด้านนั้น ก็ควรเอาห้องน้ำ ห้องแต่งตัวที่มีเสื้อผ้าเยอะ หรือส่วนตากผ้าไปไว้ตรงนั้นแทน เพื่อให้โดนแดด ให้แดดฆ่าเชื้อให้เรา เหมือนว่าเราควรเลือกใช้ข้อดีของธรรมชาติที่มีให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต โดยออกแบบให้สอดรับกับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และบริบทของพื้นที่ เพราะเราสู้กับธรรมชาติไม่ชนะหรอก แต่จะอยู่ร่วมกับเขาอย่างฉลาดได้อย่างไร...แค่นั้นเอง
    4
  • 2019 WEEK 39 "บดินทร์ เมืองลือ"

    เวลาจะสร้างบ้านใหม่ แนะนำให้คุณใช้เวลาทบทวนในสิ่งที่จะสร้างหรือลงทุนกับตัวอาคารให้มากที่สุดครับ อยากให้คิดถึง Space การใช้งานเป็นหลัก ไม่ใช่แค่อยากได้กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าเรื่องของฟังก์ชั่นคือความชอบ โดยควรจะต้องตั้งโจทย์กับตัวเองหลายๆ โจทย์ เช่น ชอบอยู่กับวัสดุแบบไหน หรือมีความสุขที่จะได้อยู่ ได้เห็น หรือได้สัมผัสกับวัสดุแบบไหน แล้วพยายามสื่อสารให้สถาปนิกหรือช่างทราบให้มากที่สุด
    4
  • 2019 WEEK 38 "วรัญญู มกราภิรมย์"

    สิ่งที่ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ คือ “ต้นไม้และแสงแดด” สำหรับคนที่อาจจะมีพื้นที่เล็กๆ อย่างคอนโดหรือตึกแถว ต้นไม้และแสงธรรมชาตินี่แหละช่วยคุณได้ ถ้าอยากทำอะไรสนุกๆ ก็อาจจะลงทุนสักหน่อย ทำระบบโซล่าเซลล์ไปต่อกับโคมไฟน่ารักๆ แค่นี้ก็สุขแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยี มีของเล่นให้เราลองเยอะแยะ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสถาปนิกหรืออินทีเรียร์เสมอไป
    7
  • 2019 WEEK 37 "สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี"

    การซ่อมบำรุงคือฟังก์ชั่นนึงของบ้าน ในฐานะเจ้าของบ้าน เราต้องเป็นคนรู้ดีที่สุดว่าน้ำมาทางไหน ไฟเข้าทางไหน ถ้าจะมีสถาปนิกมาออกแบบจุดเซอร์วิสให้คุณ ควรต้องให้เขาออกแบบในลักษณะที่ “มนุษย์ปุถุชนเข้าถึงได้” ท่อแตกคุณปิดวาล์วได้ ไฟเสียเปลี่ยนเองได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานของคุณเอ
    7
  • 2019 WEEK 36 "เผดิมเกียรติ สุขกันต์"

    เราสามารถใช้ “ไม้” เป็นองค์ประกอบของบ้านได้ในหลายกรณี ทั้งนี้ต้องรู้จักคุณลักษณะของไม้ว่า “ยืดหดได้” ตามสภาพภูมิอากาศ คายความร้อนเร็ว และเมื่อนำมาเรียงต่อกันก็สามารถทำให้เกิดทั้งส่วนทึบและส่วนโปร่งได้ สามารถนำมาทำ ผนัง ช่องลม ที่บังแดด หรือแม้กระทั่งพื้นชานที่ อีกทั้ง ก็ยังสามารถมาพัฒนาแพทเทิร์นการจัดเรียงใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของบ้านโมเดิร์นได้เช่นเดียวกัน
    5
  • 2019 WEEK 35 "ธโนกร หวังพีระวงศ์"

    ปล่อยให้มี “พื้นที่โล่ง” ในบ้านบ้าง เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่ว่าจะต้องมีฟังก์ชั่นอัดแน่นเต็มไปทุกพื้นที่!! แสงและลมจะช่วยสร้างความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเวลาเราเปลี่ยน Space จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
    8
  • 2019 WEEK 34 "ณัฏฐวุฒิ พิริยประกอบ"

    เรื่อง “การใช้วัสดุ” ในงานออกแบบตกแต่ง...คนชอบแบ่งแยกว่าอันนั้นอันนี้คืออะไร เช่น นี่เป็นวัสดุก่อสร้างนำมาใช้ตกแต่งไม่ได้ แต่ผมว่าเราไม่ควรไป “ให้คำจำกัดความวัสดุ” ว่าอะไรต้องใช้ทำอะไร เช่น สังกะสีปกติใช้เป็นหลังคา แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปทำอย่างนั้นก็ได้นี่ เราจะนำไปแต่งผนังก็ได้ มันสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้หมด เพื่อให้การแต่งบ้านดูน่าสนุกขึ้น
    9
  • 2019 WEEK 33 "กิติยา สุขพุ่ม"

    การเลือกเฟอร์นิเจอร์ สำหรับแต่งบ้าน ที่สำคัญเลยคือ “ต้องมีความนั่งสบาย” เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั่งแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สามารถนั่งแล้วเอนตัวได้ เอกเขนกได้ ไม่ใช่ต้องนั่งหลังตรงตลอดเวลา จุดหลักในการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ เราต้องดูเรื่องสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นสำคัญ
    8
  • 2019 WEEK 32 "จุลสมโณ พงษ์เสฐียร"

    คนไทยมักเคยชินกับการวางอะไรติดผนัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกมาก แต่ผมว่าอะไรที่วางติดผนัง ถ้าลองขยับออกมา จะทำให้เกิด Circulation ใหม่ที่เปลี่ยนไป และได้พื้นที่ใช้สอยก็เปลี่ยนไปด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องตอบสนองผู้ใช้งานด้วย
    16
  • 2019 WEEK 31 "ณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก"

    Lighting เป็นเรื่องสำคัญ...“การเลือกแสงไฟ” มาใช้ในบ้าน หนึ่งเลยคุณต้องคุมเรื่อง Mood & Tone ของบ้านให้ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลอดที่เลือกมาใช้ ปกติแสงจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2,000-4,000 K เป็นอย่างน้อย ซึ่งบ้านควรจะต้องเป็นแสงเดียวกันจึงจะไม่ดูหลอกตาหรือแปลกตา คือให้อุณหภูมิแสงเท่ากัน แต่ความเข้มของแสงก็แตกต่างกันไปไป เช่น บนโต๊ะอาจสว่างกว่าที่พื้น จะได้ไม่ดูสว่างหรือฟุ้งไปหมดเหมือนในร้านสะดวกซื้อ
    7
  • 2019 WEEK 30 "กานต์ ศิวภุชพงษ์"

    การแก้ปัญหาฝ้าเตี้ย ถ้าเป็นงานประเภท “ที่พักอาศัย” เส้นตั้งจะช่วยให้ดูสูงได้ แนะนำว่าในการเลือกเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกดีไซน์ที่ค่อนข้างแบนหน่อย คือไม่ต้องสูงมาก เพื่อให้รู้สึกว่าเวลานั่งไปแล้ว จะเห็น Space ในอากาศเยอะขึ้น
    7
  • 2019 WEEK 29 "ภชพน ทองพิมพ์"

    การกำหนดว่าอะไรคือ “พระเอกหรือพระรอง” ในพื้นที่ ไม่มีอะไรตายตัว แต่อย่างง่ายสุดคือ ตามฟังก์ชันของพื้นที่นั้นๆ เช่น ถ้าเป็นห้องนั่งเล่น อะไรที่ควรจะเด่น? ก็คืออะไรที่เกี่ยวกับฟังค์ชั่นของห้อง อาจเป็นชุดโซฟาหรือชุดทีวีที่เจ้าของบ้านอยากโชว์ หรือเป็นพร็อพในห้องนั้น ทั้งนี้ ก็แล้วแต่ Space ด้วย บางห้องมี Double Volume มีผนังด้านนึงเป็นผืนใหญ่ อาจจะใส่พระเอกของเราไปตรงนั้นก็ได้
    9
  • 2019 WEEK 28 "สิทธนา พงษ์กิจการุณ"

    อาคารพาณิชย์มักจะถูกนำมาปรับปรุงเป็นโฮสเทล ซึ่งก็จะมีปัญหาในแง่ที่ว่า “ทุกห้องของโรงแรมอยากได้แสงสว่าง” ดังนั้น ห้องที่อยู่ข้างในเราก็ต้องหาวิธีจัดการ เช่น อาจปรับใช้เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ต้องการแสงมาก อย่างห้องประชุมหรือห้องเก็บของ ส่วนห้องที่เป็น Priority ที่แสงต้องเข้าถึง คือ ห้องพัก และโถงทางเข้า เราก็ต้องจัดสรรหรือเขยิบพื้นที่ออกไปเพื่อให้ได้แสงเข้าถึงข้างในได้มากที่สุด
    8
  • 2019 WEEK 27 "ธาวิน หาญบุญเศรษฐ"

    “การเลือกชุดเฟอร์นิเจอร์ให้มีภาษาของตัวเอง” จะช่วยสร้างเอกลักษณ์ในตัวงานมากขึ้นกว่าการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกใจทุกตัว “แต่ไม่มีภาษาที่สอดคคล้องกัน” เพราะถ้าเราเลือกแต่ละตัวจากที่เราชอบเป็นหลัก ในที่สุดแล้วอาจจะไม่เข้ากันหรือแย่งกันเด่น จนทำให้งานออกแบบดูล้นและไม่ชัดเจน
    8
  • 2019 WEEK 26 "คมสัน สกุลอำนวยพงศา"

    ผมให้ความสำคัญกับ “พื้นที่เปิดโล่ง” หรือ “พื้นที่สีเขียว” ผมเชื่อว่า มันจะมีบางวันที่เราเหน็ดเหนื่อยมาจากอะไรบางอย่างในชีวิตแล้วเรากลับมา เราจะเจอกลับ Space ที่มันไม่ได้ช่วยเราเลย คือถ้าในภาวะอารมณ์ปกติ ผมมองว่าเราอยู่ใน Spaceนั้นได้ แต่ในบางภาวะ ที่เราต้องการให้ Spaceช่วยเราอีกนิดนึง เยียวยาเราอีกหน่อย สีเขียวช่วยได้ เสียงน้ำช่วยได้ หรือแค่เพียงระเบียงมุมเล็กๆ ก็ช่วยได้
    8
  • 2019 WEEK 25 "รัฐภรณ์ สุชาตานนท์"

    “ปัญหาความร้อน” ร้อนเหมือนกันแต่คาแรคเตอร์ไม่เหมือนกัน แดดทิศใต้จะทำมุมสูง เครื่องมือในการแก้ปัญหา ที่เหมาะสม คือการทำชายคายื่นยาวหรือการใช้ระแนงแนวนอน ส่วนแดดทิศตะวันตกซึ่งทำมุมต่ำ ควรใช้ระแนงแนวตั้ง เพื่อให้เกิดการเหลื่อมของแสงจะช่วยป้องกันแสงแดดได้มากกว่า ดังนั้นการแก้ปัญหาความร้อนของแดดจะใช้เครื่องมือเดียวกันไม่ได้ แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาและสภาพพื้นที่
    12
  • 2019 WEEK 24 "เชาว์วัฒน์ กิตติธรกุล"

    บ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน ฉะนั้น ความชอบของเราวันนี้อาจไม่ได้ตัดสิน “สิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ” เราควรต้องเอาความชอบในทั้งช่วงชีวิตของเรา หรืออะไรที่ “งามแบบไร้กาลเวลา” อันนั้นต่างหากคือสิ่งที่เราควรไปหา ผมคิดว่า “บ้านไม่ควรเป็นอะไรที่ฉาบฉวย” ไม่ควรเป็นอะไรที่อิงไปกับกระแสเทรนด์มากๆ เช่น สีนี้กำลังมานะ ต้องรีบหยิบมาใช้ ผมว่าแบบนั้นไม่ใช่ไอเดียของ “บ้าน”
    12
  • 2019 WEEK 23 "พรชัย ชัยโชติวาณิช"

    พื้นที่เล็กก็ Luxury ได้ โดยเลือกใส่กระจกหรือวัสดุที่มีความมันเงา และโทนสีที่ไม่ดูทึบเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ว่าต้องการได้อารมณ์ประมาณไหน เช่น ถ้าเป็นห้อง Family Room ชั้นล่าง ก็อาจจะให้มีความสนุกสนาน มีสีสันหน่อย แต่ถ้าเป็นห้องที่ชั้นสองก็อาจให้ดูอบอุ่นหน่อย เพราะกำลังจะนอนแล้ว สีก็ต้อง Deep Tone ลงมานิดนึง เช่น น้ำเงิน เทา เป็นต้น
    76
  • 2019 WEEK 22 "สุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์"

    คนที่กำลังสร้างบ้าน นอกจากเตรียมเงินแล้ว คุณต้องเลือกเนื้อคู่ (สถาปนิก) ก่อน!! เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำงาน ร่วมกันได้... เจ้าของบ้านกับสถาปนิกเองต้องทำงานร่วมกัน ฉะนั้นแล้ว คุณต้องรู้จริตของคุณให้ได้ว่าจริตคุณเป็นแบบไหน แล้วก็เลือกให้ถูกจริตของตัวเอง อันนี้คืออันดับแรก ที่ควรทำก่อนสร้างบ้าน (คือหาเนื้อคู่ที่คุยกันรู้เรื่อง)
    8
  • 2019 WEEK 21 "ณฤชา คูวัฒนาภาศิริ"

    ถ้าอยากให้บ้าน “ซ่อมบำรุงง่าย” แม้ไม่ได้มีสถาปนิกมาช่วยวางระบบตั้งแต่แรก คุณก็สามารถทำได้หลายประเด็น เช่น หลังคา ก็แค่มีฝ้าเซอร์วิสซึ่งทำให้ซ่อมบำรุงจากข้างล่างได้สะดวก หรือท่อน้ำ ควรให้เดินท่อข้างบนทั้งหมด เพราะเวลาท่อแตกจะมีแรงดัน เราจะได้เห็นรอยน้ำบนฝ้า และควรออกแบบให้มีวาล์วปิดน้ำเป็นจุดๆ แต่ละห้องไปเลย ก็จะทำให้ช่างสามารถไปซ่อมได้ง่ายขึ้น
    8
  • 2019 WEEK 20 "คำรน สุทธิ"

    “การได้สัมผัสธรรมชาติ” เป็นเหมือนการสร้างพลังชีวิต บ้านเหมือนเป็นที่ชาร์ตแบต เราตื่นมาแล้วหายใจได้เต็มปอด “อยู่แล้วรู้สึกมีความสุข” ผมว่า “บ้านต้องเป็นประมาณนี้” ฉะนั้นจึงควรออกแบบบ้านให้มีความเป็นธรรมชาติเข้ามา คือ ให้คน บ้าน ธรรมชาติได้มีความสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวกัน
    11
  • 2019 WEEK 19 "ไพทยา บัญชากิติคุณ"

    สิ่งที่ควรมองหาเวลา “เลือกซื้อคอนโด” นอกจากทำเลแล้ว แนะนำให้ดูความน่าเชื่อถือของ Developer ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะสร้างความมั่นใจได้ว่าโครงการที่เราซื้อ จะได้รับการพัฒนาและก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ ส่วนในเชิงดีไซน์แนะนำให้ดูผังห้องพักให้ละเอียดเหมาะสมกับ Lifestyle ของเรา
    7
  • 2019 WEEK 18 "เอกสิทธิ์ แจ้งอ่างหิน"

    หลายคนมักคิดว่าถ้าพื้นที่เล็ก ก็ต้องไปใช้ “กระจก” มากั้นหรือตกแต่ง แต่การใช้กระจกนั้น จะนำไปวางมั่วๆ ไม่ได้ เพราะคุณสมบัติของกระจก คือ “การสะท้อน” ซึ่งหมายถึงมันสามารถสะท้อนทั้งความว่างเปล่าและความยุ่งเหยิงได้ด้วย ดังนั้นต้องดูว่าเราควรนำไปวางตรงไหน? เพื่อให้สะท้อนอะไร?
    6
  • 2019 WEEK 17 "เฉลิมพล สมบัติยานุชิต"

    “บ้านที่อยู่...ไม่ใช่บ้านตัวอย่าง” ที่ต้องพร้อมสมบูรณ์ไปหมดทุกสิ่ง ดีไซน์เนอร์ควรออกแบบตกแต่งเท่าที่จำเป็น แล้วที่เหลือก็ปล่อยให้เจ้าของบ้านแต่งเติมพื้นที่นั้นด้วยตัวเอง เพราะเขาจะรู้ว่าเขาอยากได้อะไร คือมันควรมีพื้นที่ให้เจ้าของบ้านรู้สึกสนุกกับพื้นที่ของตัวเอง
    16
  • 2019 WEEK 16 "ศันสนีย์ ประดิษฐ์กุล"

    “อยู่ทาวน์โฮมแต่ได้อารมณ์เหมือนบ้านเดี่ยว” สิ่งสำคัญคือ “ช่องเปิด” เพราะทาวน์โฮมโดยมากจะมีผนังทึบสองด้าน พื้นที่แน่น ช่องเปิดน้อย ถ้าทำเป็นห้องนอน 2 ห้อง ห้องน้ำตรงกลางก็มืดแล้ว ดังนั้นเราอาจจะเจาะช่อง, เปิดเป็น Court, ทำหลังคา Skylight หรืออะไรที่สร้างพื้นที่ตรงนั้นให้ดูมีแสงธรรมชาติเพิ่มเติมได้ จะช่วยลดความรู้สึกอึดอัดของทาวน์โฮมให้น้อยลงได้
    9
  • 2019 WEEK 15 "อรรณพ ศิริกิตติกุล"

    การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง ผมว่า “โซฟา” เป็นพระเอกในพื้นที่นี้ ควรเลือกโซฟาที่แน่นพอดี ไม่ยุบย้วย มีความสูงพอดี ถ้าเตี้ยเกินไปผู้สูงอายุจะลุกนั่งลำบากคือคำว่า “พื้นที่ส่วนกลาง” มันควรต้องเอื้อกับคนทุกช่วงวัยในบ้าน และผมมักแนะนำให้ลูกค้าเลือกเฟอร์นิเจอร์ Masterpiece สักอันมาใส่ เพื่อให้ดูเป็นงานศิลปะในพื้นที่ เวลาที่เข้าไปใช้งานคุณจะได้สัมผัสกับสุนทรียะในพื้นที่ด้วย
    14
  • 2019 WEEK 14 "สราวุฒิ ปาทาน"

    ถ้าคิดจะเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรลงไปเพื่อเติมความสดใสให้บ้านเก่า ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้คุณตัดสินใจ “ทิ้งของ” บางอย่างให้ลงเสียก่อน!! สังเกตไหมว่าบ้านที่อยู่มานานมันจะเริ่มไม่เป็นระเบียบ เพราะมันเต็มไปด้วยข้าวของมากมาย ดังนั้นก็ต้องกล้านำสิ่งที่ไม่ใช้ออกและหลังจากนั้นแล้วคุณจะรู้เองว่า คุณอยากเอาอะไรเข้ามาหรือควรทำอะไรกับพื้นที่นั้นต่อไป
    8
  • 2019 WEEK 13 "รุ้งนภา โดร์มิเออ"

    สัดส่วนการผสมของวัสดุและผิวสัมผัส Texture หลักควรใช้ที่ 60 % ขึ้นไป เช่น วัสดุเดียวกันควรเลือกแบบที่มี Texture คล้ายๆ กัน ส่วนวัสดุที่ต่างกัน เราสามารถเปลี่ยนสเกลของ Texture ได้ เช่น Texture หลักเป็นแบบหยาบ อีก 20% ก็ใช้เป็น Texture ละเอียด เพื่อช่วยให้งานตกแต่งไม่น่าเบื่อจนเกินไป
    15
  • 2019 WEEK 12 "ธฤต ทศไนยธาดา"

    ทำความรู้จักกันให้มากขึ้นกับ คุณธฤต ทศไนยธาดา Design Director และเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท Design In Motion “เวลาทำงานออกแบบ เราจะคุยกันว่าจะมีไอเดียอะไรที่เราอยากสื่อสารผ่านผลงานนี้บ้าง”
    15
  • 2019 WEEK 11 "อยุทธ์ มหาโสม"

    บ้านหลายหลัง ชอบเอาต้นไม้หรือสวนไว้ข้างนอก ข้อเสียคือ เวลาเราอยู่ในบ้านจะแทบไม่เห็นต้นไม้เลย เราเลยคิดมุมกลับโดยเอาต้นไม้เข้ามาอยู่ในบ้าน ในห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องนอน เพราะเรามองว่าในเมื่อคุณจ่ายเงินสร้างขึ้นมาแล้ว ทุกห้องในบ้าน“ควรจะได้เห็นมัน” ...คุณควรได้ดื่มด่ำกับบ้านและกับเงินที่จ่ายไป
    4
  • 2019 WEEK 10 "ปัทมา พรภิรมย์"

    Waste Space คือ พื้นที่ที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านเพราะเป็นพื้นที่จุดอับของตัวบ้าน มันจะทำให้ลามมาถึงเรื่องของการระบายอากาศด้วย เช่น ปลายทางเดิน ซึ่งแทนที่จะปล่อยให้ดูมืดๆ ตันๆ ไม่น่าเดิน เราก็สามารถแก้ด้วยการออกแบบให้มีแสงพาดเข้ามาที่ผนังตรงนั้น
    5
  • 2019 WEEK 9 "ทวีศักดิ์ วัฒนาวารีกุล"

    เรื่องการเลือกเฟอร์นิเจอร์ ถ้าคุณเป็นคนมี Sense ด้านดีไซน์ดี คุณจะเลือกหยิบของที่ดูไม่เข้ากันมาใช้ก็ได้นะครับ แต่สำหรับคนทั่วๆ ไป แนะนำให้คุณสนุกกับการเลือกดีไซน์ที่มันเข้ากันมาก่อนดีกว่าในช่วงเริ่มต้น เพื่อค่อยๆ เรียนรู้กับการมิกซ์แอนด์แมตช์ แล้วคุณก็จะสามารถเลือกสีที่ดูไม่เข้ากันแต่มันก็จะลงตัวได้ในภายหลัง
    17
  • 2019 WEEK 8 "ปานดวงใจ รุจจนเวท"

    อยากทำ Inner Court ควรมีพื้นที่ขั้นต่ำสัก 4x4 เมตร แต่จริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของบ้านด้วย “การปลูกต้นไม้ในบ้าน” หากต้องการปลูกเป็นไม้ยืนต้น ก็ควรจะต้องมีแสงที่เพียงพอ มีระบบรดน้ำและการระบายน้ำ คือจะต้องมีระบบที่รองรับเรื่องการดูแลต้นไม้ด้วย รวมถึงไฟส่องสว่างต้นไม้ตอนกลางคืน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศของบ้านให้ดูอยู่ขึ้น
    7
  • 2019 WEEK 7 "เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์"

    ห้องเล็กทำยังไงให้ดูใหญ่? อาจใช้กระจกเข้ามาช่วย โดยใช้ผนังกระจกใสมาเป็นตัวกั้นห้องแทนผนังทึบและเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสัดส่วนเล็กหน่อยหรือแบบที่ทำจากวัสดุโปร่ง เช่น แก้วใส อะคริลิค ที่มีความมันวาวมาใช้แทนวัสดุทึบๆ ตันๆ ส่วนการใช้สีสัน ถ้าห้องเล็กก็น่าจะใช้ Neutral Tone เพื่อช่วยหลอกตาให้ Space ดูกว้างและโปร่งโล่งขึ้น
    8
  • 2019 WEEK 6 "อศิ เชิดวิวัฒนสินธ์"

    เมื่อก่อน “ล็อบบี้” โรงแรมอาจมีขนาดใหญ่ มีไว้เช็คอินและให้แขกนั่งคอย แต่จริงๆ เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้พื้นที่นี้เป็นมากกว่าแค่ Waiting Area โดยลดขนาดให้เล็กลง แล้วออกแบบพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น Co-working space ให้บุคคลภายนอกมาเช่าใช้บริการ เพื่อทำให้พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นอีกแหล่งสร้างรายได้หนึ่งของโรงแรม
    6
  • 2019 WEEK 5 "บุตรีญา รวมธรรมรักษ์"

    หลักการออกแบบ Universal Design ให้ความสำคัญกับระยะต่างๆ ในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ คือ ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเดินหรือรถเข็น ก็ควรจัดพื้นที่ทางสัญจรให้กว้างเพียงพอไม่ให้เกิดการติดขัด และควรคำนึงถึงระดับของพื้นในอาคาร และอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ
    13
  • 2019 WEEK 4 "ชนิดาภา มาประณีต"

    การทำ Co-Working Space ในออฟฟิศ คือ การมีโต๊ะทำงานที่ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ อาจจะเพิ่มทางเลือกเป็นโซฟาให้นั่งทำงานด้วยก็ได้ค่ะ เพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น ซึ่งก็เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ เพราะช่วยให้เขารู้สึกว่า บรรยากาศมันดูสร้างสรรค์ขึ้นกว่าการนั่งอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมๆ ทุกวัน
    11
  • 2019 WEEK 3 "ณุสุระ ปัทมดิลก"

    “ที่จอดรถ” คือ ประตูบ้านด่านแรก ไม่ใช่แค่ที่จอดรถและเก็บของ แต่มันคือพื้นที่แรกที่เราต้องเจอเมื่อกลับถึงบ้าน เราไม่ควรต้องเบียดตัวเองในมุมมืดๆ อับๆ และมีแต่คราบน้ำมัน...ผมว่าถ้าเราใช้ที่จอดรถให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่านี้ เราจะมีประตูบ้านที่ใหญ่ที่สุดในโลก
    12

รายการ 1 ถึง 50 จากทั้งหมด104

หน้า

ต้องการความช่วยเหลือทักแชตเลย

Live Chat With SB Design Squarex