2019 WEEK 31 "ณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก"

2019week31
30 กรกฎาคม 2019 7 view(s)
2019 WEEK 31 "ณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก"

ABOUT HIM

 

ต้องเรียกว่าครบเครื่องเรื่องออกแบบตกแต่งบ้านจริงๆ สำหรับ Gooseberry  Design เพราะให้บริการครอบคลุมทั้งด้าน Architect, Interior, Landscape ไปจนถึง Lighting Design ที่มิใช่เพียงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเพื่อเต็มเติมความมุ่งหมายในฐานะสถาปนิกผู้ออกแบบที่ต้องการจะสร้างสรรค์ความสมบูรณ์ของงานดีไซน์ให้ได้มากที่สุด สัปดาห์นี้ พูดคุยกับ คุณณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก Managing Director แห่ง Gooseberry  Design

งานของเราประมาณ 80-90% เป็นงานประเภทที่พักอาศัยครับ ซึ่งทำตั้งแต่สเกลเล็ก (งานบ้านพักอาศัย) ไปจนถึงสเกลใหญ่ (งานคอนโด  โรงแรม  รีสอร์ท) โดยหลักในการออกแบบเรา จะเน้นอยู่ 4 เรื่องหลักๆ ดังนี้  

     1.Spaceซึ่งมีความสัมพันธ์กับการทำ Planning ที่เราต้องดูว่า “Space นั้นมีปฏิสัมพันธ์กับคน” ที่เข้าไปใช้งานมากน้อยแค่ไหน  ซึ่งการออกแบบพื้นที่ที่ดีตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า จะก่อให้เกิดข้อดีอื่นๆ ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนของอากาศ ทิศทางแดดลม และการออกแบบ Space ยังเป็น “ตัวเชื่อมต่อความรู้สึก” ของคนที่เข้าไปใช้ในพื้นที่ว่าเขาได้อะไรจาก Space ตรงนั้นตัวอย่างเช่น บางงานมีพื้นที่จำกัดแต่เราอาจจะใส่ Courtyard เข้าไปตรงกลางเพื่อให้ดูน่าสนใจ และทำให้ทุกคนสามารถแชร์วิวตรงนี้ด้วยกันได้ เป็นต้น

     2.Mass Form ของอาคาร คือ พอเราทำพื้นที่ได้โอเคแล้ว เราก็เหมือนกับทำตัวรูปทรงของอาคารขึ้นมาให้ดูน่าสนใจและมีคอนเซ็ปต์ โดยดูจากตัวของลูกค้าว่าเขาเป็นยังไง โดยเราจะคุยกับกันเยอะหน่อยเพราะเราอยากให้บ้านหรือตัวอาคารออกมาแล้วสะท้อนความเป็นตัวตนของเขา ไม่ใช่ให้ออกมาเป็นบ้านของสถาปนิกหรือดีไซเนอร์  เพราะเราเป็นเพียง “ผู้ถ่ายทอด” ซึ่งบ้านแทบทุกหลังที่ Gooseberry ออกแบบ เราจะพยายาม Customize สิ่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างความเฉพาะเจาะจงให้กับลูกค้าท่านนั้นๆ โดยเฉพาะ ตัวอย่างคอนโด โครงการสาธร การ์เด้นส์  ซึ่งเป็นคอนโดแบบเพนท์เฮ้าส์  ซึ่งเราออกแบบโดยเริ่มต้นจากศูนย์เลย เพราะมาเป็นพื้นที่เปล่า ไม่มีผนัง ไม่มีห้องน้ำ ไม่มีฟังก์ชั่นเดิมเลย อีกทั้ง ลูกค้าเป็นต่างชาติที่หลงใหลความเป็นเอเชี่ยนมากๆ ไปเช่น มีประสบการณ์ไปเที่ยวกัมพูชามาแล้วชอบศิลปะขอมจำพวกปราสาทหิน  เราจึงคิดลวดลายแพทเทิร์นใหม่ๆ ให้เขาขึ้นโดยเฉพาะ  มีการทำอุโมงค์ผสานศิลปะของรูปทรงไทยๆ เข้าไปในงานด้วย  พวกเพดาน บานประตู อะไรต่างๆ เราก็ออกแบบเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์และสั่งทำมาเพื่อเขาโดยเฉพาะ   

    3.Detail บางครั้งเราออกแบบรายละเอียดขึ้นเพื่อบ้านหลังนี้โดยเฉพาะ หรืออาจเป็นการทดลองอะไรบางอย่างที่ยังไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็นำไปใช้ในบ้านลูกค้า เช่น พวกรายละเอียดของมือจับประตู, ฝ้าเพดาน, งาน Painting ผนัง  หรือการใช้วัสดุหลายอย่างมาผสมกัน เพื่อสร้างแพทเทิร์นที่แปลกใหม่ เป็นต้น  และสุดท้าย 

    4. Lighting ซึ่งเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญ ทั้งในส่วนของงานอินทีเรียร์และงานสถาปัตย์ครับ เรามีส่วนงานที่ดูแลเรื่อง “การออกแบบแสง” โดยเฉพาะ ซึ่งแยกเป็นอีกบริษัทเลย ในชื่อ 475 Lighting Consultant ครับ

 

สำหรับผม “บ้านที่อยู่สบาย”  คือ ต้องเป็นบ้านที่เข้าไปแล้วรู้สึกว่า เราไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันมาก ทั้งในแง่ของการบำรุงรักษาหรือตัววัสดุที่นำมาใช้ในการออกแบบ คือถ้าบางคนชอบดูแลบำรุงรักษาก็โอเค คุณอาจจะใช้วัสดุอะไรที่ต้องบำรุงรักษาได้ แต่บางคนบอกว่าเขาไม่ชอบการต้องมานั่งดูแลรักษาบ้าน คืออยากจะอยู่บ้านที่ดูเรียบง่าย เราก็ต้องออกแบบอะไรที่ดูไม่ซับซ้อนมาก และไม่ต้องบำรุงรักษาเยอะ นอกจากนี้ ก็ควรเป็นบ้านที่มีลักษณะว่า...เราจะไปนั่งมุมไหนก็รู้สึกว่าสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้ทุกมุม และใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ได้บ่อยๆ ไม่ใช่ว่ามีห้องเต็มไปหมด  แต่ว่าบางห้องแทบไมได้เปิดเข้าไปดูเลย อันนั้นก็เป็นภาระอีก ...บ้านแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  บางคนเนี้ยบบ้านก็จะสวยตลอด บางคนทำไปแป๊บเดียวก็มีของมากองเต็มไปหมด ซึ่งอันนั้นเป็นความสุขของเขา แต่จริงๆแล้วอย่างที่บอกว่า บ้านมันต้องตอบโจทย์ ณ วันที่เราออกแบบให้เขา ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของเขา เพราะมันคือ “ชีวิตที่เขาต้องการ” นั่นล่ะ มันก็จะกลายเป็น “บ้านที่ดี”

 

  • Lighting เป็นเรื่องสำคัญ การเลือกแสงไฟมาใช้ในบ้าน หนึ่งเลยคุณต้องคุมเรื่อง Mood & Tone ของบ้านให้ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ คือ หลอดที่เลือกมาใช้ ปกติแสงจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2,000-4,000 K เป็นอย่างน้อย ซึ่งบ้านควรจะต้องเป็นแสงเดียวกัน จึงจะไม่ดูหลอกตาหรือแปลกตา  ถ้าคุณเลือกแสง 3,000 K ซึ่งจะดู Warm หน่อย ก็ควรเลือกให้เหมือนกันทั้งหลัง คือให้อุณหภูมิแสงเท่ากัน แต่ความเข้มของแสงก็แตกต่างกันไปไป  เช่น บนโต๊ะอาจสว่างกว่าที่พื้น จะได้ไม่ดูสว่างหรือฟุ้งไปหมดเหมือนในร้านสะดวกซื้อ

 

  • มุมของแสง  ถ้าเพดานสูงมากๆ  มุมกระจายแสงอาจจะต้องแคบ เพราะว่าเวลาแสงส่องลงมาบนพื้นมันจะกว้างออกอยู่แล้ว  ถ้าเราใช้มุมองศาที่กว้างก็จะสว่างไปทั่วแทนที่จะส่องลงตรงจุดที่เน้น  หรือถ้าที่ผนังแขวนรูปโชว์อยู่ ก็ควรจะใช้หลอดที่มุมแคบ เพื่อเวลามันฉายไปที่รูปภาพจะได้พอดีไม่สว่างไปทั้งผนัง หรือในบางผนังที่เราต้องการเกลี่ยแสงให้นวลเสมอกัน อาจต้องใช้พวก Direct Light หรือ Wall Washer Light ซึ่งเป็นแสงมุมกว้างมากๆ ผนังก็จะสว่างเรียบเท่ากันหมด เอาอะไรไปแขวนก็จะเด่นหมด

 

Favorite items

 

Living Inspiration @ SB Design Square

 

ผมชอบมุมนี้ เพราะเป็นมุมที่โชว์พร็อพในครัวให้เลือกหลากหลาย นึกถึงอารมณ์เวลาอยู่ในครัว ถ้ามีอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือให้หยิบจับเลือกใช้มากมาย มันจำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นในการทำกับข้าวไปด้วย

   

 

ส่วนมุมนี้ ชอบเพราะการจัดวางที่มีตู้สูงอยู่ด้านหลัง และมีส่วนที่เป็นไอส์แลนด์ด้านหน้า เป็นคาแรคเตอร์ที่ผมชอบ เพราะรู้สึกว่ามีฟังก์ชั่นใช้งานที่น่าจะตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดี คือ ข้างหลังเป็นผนังเก็บของได้เยอะ ด้านหน้าจะเป็นส่วนของการทำอาหาร คือนึกภาพตามว่าถ้าเรายืนทำอาหารอยู่แล้วถ่ายรูป มันจะได้ซีนที่สวยงาม ลูกค้าจะมีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ครัว ได้ทำอาหารแล้วมีคนมองเห็น ซึ่งมันก็เป็นซีนที่ลูกค้าส่วนใหญ่อยากได้ อีกอย่างคือ ชุดครัวนี้มีท็อปไอส์แลนด์ที่ยาวเกือบ 3 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่เท่ากับตู้ด้านหลัง ทำให้ห้องครัวนี้ดูแกรนด์ และดูน่าใช้งาน 

 

ต้องการความช่วยเหลือทักแชตเลย

Live Chat With SB Design Squarex