2018 Week37 : ปิยภาค วัฒนศรีมงคล

2018week37
10 กันยายน 2018 9 view(s)
2018 Week37 : ปิยภาค วัฒนศรีมงคล

ABOUT HER

ปิยภาค วัฒนศรีมงคล (ปิ)  : บริษัทเราชอบที่จะคิดลูกเล่นหรือดีไซน์ใหม่ๆ ใส่เข้าไปในงานออกแบบค่ะ คือถ้าไม่มีสิ่งนี้ เราจะหงอยนิดนึง เราจะอยู่ไม่ค่อยได้ ถ้าเราไม่สร้างความยุ่งยากให้กับตัวเองค่ะ (หัวเราะ)...สัปดาห์นี้ชวนมาคุยกับสถาปนิกสาวอารมณ์ดี Principal Architect & Founder  บริษัท Studio Point Line Plane (PLP)

PLP เป็นบริษัทออกแบบที่ให้บริการแบบครบวงจร ทั้งงานสถาปัตย์ ตกแต่งภายใน กราฟฟิค รวมถึงการทำ Corporate Identity หรือ Branding ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานลักษณะ Commercial ค่ะ  “คาแรคเตอร์ของ PLP คือ เราชอบที่จะใส่ความสนุกเข้าไปในนั้นค่ะ จะเป็น Gimmick เราที่คิดและทำขึ้นเป็นพิเศษให้กับลูกค้า เพื่อให้มันเป็น Signature ของร้านเขาโดยเฉพาะ”   ทุกงานออกแบบจะพัฒนามาจาก Experimental Designคือ การออกแบบและทดลองทำอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาก่อน เช่น โรงแรมนึงที่เราออกแบบ ลูกค้ามีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็กมาก เราเลยวางคอนเซ็ปต์ให้เขาเป็น Multi-Purpose Space เราดีไซน์ให้ตู้ทุกตัวสามารถเลื่อนได้ บรรยากาศกลางวันและกลางคืนก็ออกแบบให้ไม่เหมือนกัน แสงจะเปลี่ยนไปตาม Lighting ที่เราออกแบบไว้ หรืออย่างร้านกาแฟ ที่มีโลเคชั่นอยู่ใน Stadium One ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ สปอร์ต คอมมูนิตี้มอลล์ เราก็ลองตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า อยากให้ร้านทั้งร้านเป็นอะไรที่ถอดประกอบได้  แล้วใส่คาแรคเตอร์ของสนามกีฬาลงไป พวกของตกแต่งต่างๆ ในร้าน เราดีไซน์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด อย่างโต๊ะ เก้าอี้ มันจะมีรูปทรงเหมือนบาร์ออกกำลังกาย มีไฟตกแต่งรูปห่วงยิมนาสติก ที่นั่งก็เป็นแบบสนามกีฬา  หรือร้านขายเสื้อผ้า ซึ่งลูกค้าเราเป็นร้านแบบ Pop up store เจ้าของเป็นผู้หญิงสองคน เขาก็มีปัญหาว่าต้องหอบของกันพะรุงพรัง จะเปิดร้านทีก็ต้องเสียเวลากับการต่อราวแขวน เราก็ลองคิดและดีไซน์ราวแขวนให้เหมือนกับการพับกระดาษ คือแค่กางออกมาแล้วต่อรางเล็กน้อย เสร็จภายใน 50 วินาที ให้มันง่ายและสะดวกกับการใช้งานของผู้หญิง...ซึ่งกว่าจะออกแบบให้กางเสร็จใน 50 วินี่ เราระดมสมองคิดกันเกิน 50 วันอ่ะค่ะ (หัวเราะ)

การใส่ความสนุกลงไปในงาน นอกจากจะสร้างการจดจำแล้ว มันยังช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ด้วย เวลาเราจะออกแบบ สิ่งที่เราทุกคนในออฟฟิศตั้งเป้ากันไว้คือ เราทุกคนจะทำตัวเหมือนเราเดินเข้าไปในพื้นที่นั้นๆ แล้วเราอยากจะรู้สึกอะไร เราอยากให้คนที่เดินเข้ามาในนี้รู้สึกอะไร “มันคุ้มค่ากับเวลาและพลังของเราที่เสียไป เพราะท้ายสุด คือ เราได้ผลลัพธ์แบบนี้ เรารู้สึกว่า เออ...แจ๋ว!! มันมีความแตกต่าง มันคงเป็นความรู้สึกเหมือนพวกนักประดิษฐ์ที่เขาประดิษฐ์แล้วมันสำเร็จมั้งคะ”

เวลาลองทำอะไรใหม่ๆ...ทำแล้วไม่เวิร์ค ทำแล้วทิ้ง มีเยอะมากค่ะ!! เงินเราก็จ่ายเอง เราไม่รบกวนลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ของเรา แต่เราก็ชอบที่จะลองดูก่อน เราจะบอกกับลูกค้าว่าเราอยากลองดูก่อน พอลูกค้าเห็นเราอ้อนวอนขนาดนั้นเขาก็ยอมให้เราทดลองทำในไอเดียของเรา  ทุกครั้งที่ทำไม่สำเร็จไม่เคยรู้สึกว่า “ทำไม่ได้แล้วไม่อยากทำ” แต่จะรู้สึกว่ามันต้องมี “ทางที่ได้” เหลืออยู่บ้างแหละ  มันต้องมีอะไรสักอย่าง จะว่าไปคือถ้าเอาสิ่งที่ออกแบบแล้วทิ้งทั้งหมดมารวมกัน ปิได้บ้านหลังนึงแล้วล่ะ(หัวเราะ)

จริงๆ ปิไม่ได้มีปัญหากับการออกแบบหรือการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์สำเร็จนะคะ เพราะปิว่าจริงๆ แล้วทุกอย่างดีหมด ขอแค่ลูกค้าตั้งโจทย์มาก็พอ หรือบางทีก็เป็นเราเองด้วยซ้ำที่เป็นคนแนะนำให้ลูกค้าใช้ของสำเร็จ เพราะว่า 1. คือคุณจะไปเสียเงินทำไมเยอะๆ ถ้าเราสามารถซื้อหาได้เลย อันนี้คือประเด็นสำคัญเลย 2.ถ้ามันใช้งานได้ แล้วทำไมเราจะไม่ใช้ล่ะ แต่ว่าเราจะใช้วิธีมิกซ์กัน เช่น ซื้อโต๊ะกินข้าวที่เป็นโต๊ะสำเร็จรูป เก้าอี้อาจจะซักหกตัว ซื้อมาเป็นชุด แต่หัวท้ายขอออกแบบเองได้ไหม หรืออย่างไฟ Lighting ทั้งหมด ก็เป็นไฟที่หาซื้อได้นี่แหละ แต่ตัวใหญ่สุดขอออกแบบเองได้ไหม หรือบางโปรเจคโต๊ะเก้าอี้นี่ไม่ได้แพงเลย แต่เราดีไซน์ของบนโต๊ะ ให้ดูแล้วมี Value เพื่อที่จะทำให้โต๊ะมันดูสวยน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ในมุมมองของเรา Interior Space หมายถึง ความน่าตื่นเต้น คือเราอยากให้เขาเดินเข้ามาแล้วรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้นนะ แล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยมันต้องเชื่อมโยงกลับไปที่แบรนด์ของลูกค้า อันนี้คือสิ่งที่เราโฟกัสค่ะ เราเลยชอบที่จะออกแบบโดยทดลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ “ปิมองว่า ความเหนื่อยและความผิดพลาดที่ทำลงไป มัน Turn กลับมาเป็นการ Learning  คือ เราได้ Learn ลูกน้องเราได้ Learn ช่างเราได้ Learn ซึ่งอันนี้สำคัญมากค่ะ เพราะว่าทีมเราเขาจะมีพลังในการทำ เขาจะสนุก อยากลอง แต่ถ้าทำแล้ว เราบอกเขาว่า ทำแล้วเสียอย่าทำอีกนะ! เขาจะไม่กล้า เพราะฉะนั้น ทำทิ้งไม่เป็นไร ขอให้คุณมีความกล้าที่จะทำชิ้นต่อๆ ไป อันนี้ปิคิดว่ามันสำคัญ ของมันผิดพลาดได้ สิ่งที่ทำไม่สำเร็จวันนี้...มันน่าจะเป็นบันไดสำหรับชิ้นต่อๆ ไปค่ะ”

“ปิจะบอกน้องอินทีเรียร์ในทีมเสมอว่า เวลาที่คิดออกแบบอะไรใหม่ๆ ไม่ต้องกลัวความลำบากหรือความยุ่งยาก มันเป็นเพราะเราแค่ไม่รู้ ถ้าเราไม่รู้วันนี้ พรุ่งนี้เราจะรู้ แล้วพรุ่งนี้โจทย์นี้มันจะกลายเป็นง่ายขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราไม่เจอความยุ่งยากเลย เราก็จะไม่สามารถที่จะโตขึ้นไปได้ มองทุกงานออกแบบเป็นความท้าทายดีกว่าค่ะ”

 

  • สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ถ้าคุณคิดอยากจะเปิดร้าน อย่างแรกสุดเลยคือ คุณควรไปทำความรู้จักหรือทำการบ้านกับสินค้าของตัวเองก่อน จุดแข็งจุดอ่อนอยู่ตรงไหน และควรเปิดใจบอกกับดีไซน์เนอร์ถึงข้อดีข้อเสียนั้นเพื่อช่วยกันอุดรูรั่ว 
 
  • เดี๋ยวนี้เราทุกคนเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้มากมายก่ายกอง ทำให้ความต้องการในงานตกแต่งเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน ก็อยากแนะนำให้คุณ “จัดลำดับความต้องการ” ของตัวเองก่อน ไม่ว่าจะตกแต่งร้านหรือบ้าน คือ เลือกหยิบเอาสิ่งที่เราชอบสุดเป็นตัวตั้ง  เสร็จแล้วค่อยดีไซน์ตัวอื่นๆ ต่อไป เพราะบางทีการจะทำทั้งหมด จับทุกรูปแบบที่ชอบมาไว้ด้วยกันมันก็ไปกันไม่ได้

Favorite items

Favorite Corners in SB Design Square

ชอบมุมนี้ เพราะรู้สึกว่ามันดูเหมือนอยู่ในความฝัน ไม่ใช่ทุกคนนะที่จะชอบสไตล์ที่มันเยอะขนาดนี้ เราก็จินตนาการว่า ถ้ามีลูกค้ามาให้เราดีไซน์ห้องนี้เราจะทำยังไง เราก็อาจจะทำวอลเปเปอร์เป็นลายที่มันแน่นๆ หนักๆ เข้ามาแล้วให้มันดูลึกลับ ดูมีความเหนือจริงนิดนึง เหมือนกับห้องนี้ที่มันมีความเหนือจริงหน่อยนึง เลยประทับใจค่ะ พอเดินผ่านแล้วอยากนอนอยู่ในห้องนี้เลย

ชอบมุมนี้ตรงที่มันมีสีสันเยอะดีค่ะ เห็นอะไรแบบนี้แล้วรู้สึกว่า “มันน่าสนุกดี”

ต้องการความช่วยเหลือทักแชตเลย

Live Chat With SB Design Squarex